คลัีงเก็บรายวัน: 25 สิงหาคม 2024

Stranger Things​ 4 สตรีมแล้ววันนี้ รับชมรวดเดียวจบ 7ตอน

กลับมาแล้วกับ Stranger Things 4 ซีรีส์ที่ทุ่มทุนสร้างสุดยิ่งใหญ่ โดยใช้ทุนสร้างตอนละ 30 ล้านเหรียญฯ

สานต่อเรื่องราวต่อจากซีซั่น 3 ซึ่งมีระยะเวลาในเรื่องห่างกันเพียง 6 เดือนเท่านั้น ในซีซั่นนี้พูดถึงการหายตัวไปของ ฮ็อปเปอร์ ผู้อุปถัมภ์อีเลฟเว่น และกลุ่มเพื่อน ๆ ที่ต้องฝ่าฟันเรื่องราวสุดซับซ้อนในโรงเรียนมัธยมปลาย ที่เต็มไปด้วยภัยคุกคามเหนือธรรมชาติรูปแบบใหม่ที่น่าสะพรึง ลึกลับ และความสยดสยองที่เกิดขึ้นของโลกกลับด้าน

 

เรื่องราวจะลงเอยอย่างไร มาร่วมลุ้นกันได้ใน Stranger Things 4 ทาง Netflix รับชม 7 ตอนรวดเดียวจบ

 

วิธีใช้ Context API ใน React.Js

Context คือ React API ที่สามารถส่งข้อมูลข้าม Component ได้โดยไม่ต้องส่งผ่าน Props เป็นทอด ๆ เหมาะกับโปรเจคขนาดใหญ่ ที่ต้องการลดความยุ่งยากในการจัดการข้อมูล

การส่งข้อมูลผ่าน Props แบบเดิม

				
					// Page1.js

 import React from 'react'

 import Page2 from 'Page2'

 class Page1 extends React.Component {

 constructor(props) {

    super(props)

 }

 render() {

 return <Page2 data="สวัสดีชาวโลก!" />

 } 

 export default Page1
				
			

การส่งข้อมูลผ่าน Props แบบเดิม

				
					// Page2.js

 import React from 'react'

 import Page4 from 'Page4'

class Page2 extends React.Component {

   constructor(props) {

      super(props)

   } 

   render() {

      return <Page4 data={this.props.data} />

   }

 } 

 export default Page2
				
			

การส่งข้อมูลผ่าน Props แบบเดิม

				
					// Page4.js

import React from 'react'

class Page4 extends React.Component {

   constructor(props) {

     super(props)

   }

    render() {

      return (

      <div>

         {this.props.data}

      </div>  

       ) //ผลลัพธ์คือ <div>สวัสดีชาวโลก!</div>

   }

 export default Page4
				
			

การส่งข้อมูลผ่าน Props วิธีนี้ ทำให้ต้องส่งข้อมูลไปเป็นทอด ๆ จาก Page1 > Page2 > Page4 เมื่อโปรเจคขยายใหญ่ขึ้น การแก้ไข Props ในแต่ละครั้ง อาจต้องไปไล่แก้ไขทุก ๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลา เพราะฉะนั้นลองเปลี่ยนมาใช้ Context แล้วชีวิตจะง่ายขึ้น

การส่งข้อมูลผ่าน Context

วิธีนี้ใช้ได้กับ Functional Component เท่านั้น

				
					// การส่งข้อมูลผ่าน Context

// Page1.js

 import React from 'react'

 import Page2 from 'Page2'

 const MyContext = React.createContext()

function Page1() {

    return (

       <MyContext.Provider value="สวัสดีชาวโลก" />

         <Page2 />

      </MyContext.Provider>

   )

 }

 export { MyContext }

 export default Page1
				
			

ประกาศตัวแปร const ชื่อContext = React.createContext() เพื่อทำการสร้าง Context หากอยากส่งข้อมูลไปใน Component ไหน แค่วางไว้ระหว่าง <ชื่อContext.Provider> วางตรงนี้จ้า </ชื่อContext.Provider> แล้วระบุข้อมูลที่ต้องการส่ง ลงไปในคุณลักษณะ value=”ข้อมูลที่จะส่ง” แค่นี้ข้อมูลก็ถูกส่งไปยัง Component ที่ต้องการแล้ว

				
					// การส่งข้อมูลผ่าน Context

// Page2.js

import React from 'react'

import Page4 from 'Page4'

functions Page2() {

   return <Page4 /> // ไม่ต้องระบุ Props ลงไปใน Component

}

export default Page2
				
			
				
					// การส่งข้อมูลผ่าน Context

// Page4.js

import React, { useContext } from 'react'

import { MyContext } from "./Page1";

const contextData = useContext(MyContext);

function Page4 () {

   return (<>{ contextData }</>) //ผลลัพธ์คือ สวัสดีชาวโลก!

   }

export default Page4
				
			

สังเกตุได้ว่า เราสามารถดึงข้อมูลข้ามไปใช้ในหน้า Page4.js ได้โดยไม่ต้องระบุ Props อะไรลงไปในหน้า Page2.js เลย ไม่ว่าระหว่างทางจะมีกี่ Component ก็ส่งข้อมูลลงไปใน Component ย่อย ๆ ได้ทั้งหมด จะดึงข้อมูลมาแสดงใน Component ไหน ก็แค่ใช้ useContext ดึงข้อมูลออกมานั่นเอง

สร้างแบรนด์ให้น่าจดจำ โดยใช้ความถี่

การทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จนั้นจำเป็นต้องอาศัยการจดจำหรือการรับรู้แบรนด์ ลูกค้าต้องจำให้ได้ว่าคุณเป็นใคร และเราจำเป็นต้องสื่อสารให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจในตัวตนของแบรนด์ ซึ่งอาจจะต้องอาศัยระยะเวลาและการทำซ้ำซึ่งผมขอเรียกมันว่า “ความถี่ในการทำการตลาด” หรือในอีกความหมายหนึ่ง “ความสม่ำเสมอในการทำการตลาด” ผมจะมาอธิบายให้ฟังว่าความถี่ในกาารทำการตลาดมีความสำคัญอย่างไร

1.ความถี่ระดับเริ่มต้น
เป็นความถี่แรกเริ่มที่เมื่อลูกค้าพบเห็นสินค้าหรือแบรนด์ของคุณครั้งแรก ลูกค้าอาจไม่ได้สนใจมากนักหรืออาจมองข้ามไปด้วยซ้ำ ซึ่งนักการตลาดหลายท่านมักจะตกม้าตายในระดับนี้คือเมื่อผลตอบรับออกมาไม่ดีในช่วงเริ่มต้นหลายคนมักจะล้มเลิก ซึ่งผมให้ระยะเวลาของระดับนี้อยู่ในช่วง 3 เดือนแรก

2.ระดับความถี่ที่สอง
เมื่อลูกค้าพบเห็นสินค้าหรือแบรนด์ของคุณไปสักระยะหนึ่ง จะเริ่มเกิดความสงสัยและอยากรู้ว่าสิ่งที่เราสื่อสารออกไปมันคืออะไรกันแน่ ลูกค้าบางรายอาจเกิดอาการรำคาญหากคุณสื่อสารแบรนด์หรือสินค้าออกไปไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายซึ่งอาจส่งผลเสียกับแบรนด์ของคุณได้ เพราะระดับนี้จะส่งผลต่ออารมณ์ของลูกค้ามากเป็นพิเศษ ซึ่งคุณควรศึกษากลุ่มเป้าหมายของคุณให้ดีเสียก่อนว่าลูกค้ากลุ่มนี้คือกลุ่มที่จะใช้สินค้าของคุณหรือไม่ เช่น ยกทรง เหมาะกับลูกค้าผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่เมื่อไหร่ที่ลูกค้าเริ่มเกิดความรำคาญให้คุณเพิ่มความถี่ในการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นจนเข้าสู่ขั้น “ความเคยชิน”

3.ความถี่ระดับที่สาม
มีงานวิจัยออกมาว่า ลูกค้าส่วนใหญ่จะเริ่มตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นนั้นเมื่อเห็นซ้ำๆ ติดต่อกัน 3-7 ครั้ง ซึ่งมันก็ไม่เสมอไป ในกรณีที่แบรนด์ของคุณค่อนข้างจะโนเนมและยังไม่เป็นที่รู้จัก ทฤษฎีดังกล่าวอาจจะยังไม่ได้ผล ซึ่งคุณจำเป็นต้องผ่านการทำการตลาดทั้งสองความถี่แรกเสียก่อนเว้นแต่ว่าคุณคือผู้เล่นรายแรกในตลาดและยังไม่มีคู่แข่งในสินค้าประเภทเดียวกัน และเมื่อผ่านระดับนี้ไปได้แล้วแบรนด์หรือสินค้าของคุณจะเริ่มเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าและมีโอกาสติดลมบนอย่างแน่นอน

ผมมีกรณีศึกษามายกตัวอย่างให้คุณได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น คือ เครื่องดื่มโค้ก ไม่ว่าจะไปที่ไหนเรามักจะเจอโลโก้โค้กอยู่เป็นประจำ อาจจะแปะอยู่ตามป้ายร้านอาหาร นั่นหมายความว่า เครื่องดื่มโค้ก มีโอกาสเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าค่อนข้างสูง เมื่อนึกถึงน้ำอัดลม แบรนด์แรกที่จะถูกนึกถึงก็คือ “โค้ก” เพราะเราพบเห็นอยู่ทุกวันและบ่อยมาก ซึ่งก็ตรงตามกฎการทำการตลาดแบบ “ความถี่” ที่ผมอธิบายมา ขอให้คุณโชคดีครับ

การบ้านท้ายบทความ ให้คุณลองบอกชื่อแบรนด์ของสินค้าประเภทต่างๆ ที่คุณรู้จักมาสักสิบประเภท เช่น น้ำอัดลม น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก เบียร์ ฯลฯ และอธิบายว่าทำไมจึงนึกถึงเป็นแบรนด์แรก

เว็บไซต์บริษัท ยังจำเป็นอยู่ไหม?

ในปัจจุบันโซเชียลมีเดียมีความสำคัญมากในชีวิตประจำวันของหลายๆ คน องค์กรหรือบริษัทต่างๆ ก็หันมาใช้ช่องทางนี้ในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจกันมากขึ้น แล้วเว็บไซต์ของบริษัทหรือองค์กร ยังจำเป็นอยู่ไหม?

ช่วงนึงผมเคยไปเสนอทำเว็บไซต์ให้กับบริษัทแห่งหนึ่งแต่กลับโดนปฎิเสธ และให้เหตุผลกลับมาว่า “ยุคนี้คนเขาไม่เข้าเว็บไซต์กันแล้ว” ตอนได้ยินประโยคนี้ ผมนี่รีบอุทานในใจทันที “ห๊ะ!?”จริงดิ คนเขาไม่เข้าเว็บกันแล้วเหรอ ไม่ใช่มั้ง.. โซเชียลมีเดียที่ทุกคนเล่น ก็คือเว็บไซต์ และจำเป็นต้องมีเว็บเซอร์เวอร์ทำงานอยู่เบื้องหลัง แม้แต่การค้นหาข้อมูลในเสิร์ชเอนจิ้น Google เองก็ยังดึงเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่น ๆ มาแสดง แล้วทำไมถึงยังมองว่าเดี๋ยวนี้คนเลิกเข้าเว็บไซต์กันแล้ว อันนี้เขาตอบด้วยความรู้จริง ๆ หรือแค่ต้องการปฎิเสธการขายของเรากันแน่!

ถ้ามีคนถามว่า “เว็บไซต์ยังจำเป็นอยู่ไหม?” ผมจะตอบกลับทันทีว่า “ตราบใดที่คุณยังใช้ Google ค้นหาข้อมูล เว็บไซต์ก็ยังคงมีความจำเป็น”

ทุกวันนี้เราค้นหาข้อมูลผ่าน Google กันทุกวันอยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า Google ไม่ได้เป็นผู้สร้างเนื้อหาต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แต่ใช้บอทไปดึงข้อมูลในหน้าเว็บไซต์อื่นมาแสดงผลแทน โดยดึงคีย์เวิร์ดที่ผู้คนต้องการค้นหาซึ่งอยู่ในหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ มาทำการแสดงผล ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการค้นหาคำว่า “เครื่องสำอาง” Google จะไปดึงข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ที่มีคำว่า เครื่องสำอาง อยู่ในหน้านั้นมาแสดงผล นั่นหมายความว่าหากคุณทำธุรกิจขายเครื่องกรองน้ำและเมื่อลูกค้าค้นหาคำว่า “เครื่องกรองน้ำ” ก็มีโอกาสที่จะเจอเว็บไซต์ของคุณ

เว็บไซต์สามารถสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจของคุณ เพราะเดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็สร้างบัญชีโซเชียลมีเดียได้ง่าย ๆ  และการเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ก็ทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อมูลที่ถูกเผยแพร่นั้นอาจยังไม่ได้รับการคัดกรองความถูกต้องใด ๆ มีโอกาสทำให้ลูกค้าเกิดความลังเลที่จะซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากคุณ เว็บไซต์จะช่วยการันตีการมีตัวตนให้กับบริษัทของคุณได้

ถ้าคุณยังหวังพึ่งโซเชียลมีเดียอย่างเดียวแล้วละก็โยนความคิดนี้ทิ้งไปได้เลย เพราะโซเชียลมีเดียมีการปรับปรุงอัลกอริทึมอยู่ตลอดเวลา คุณไม่สามารถมั่นใจได้เลยว่าผู้คนจะยังคงเข้าถึงคอนเทนท์ของคุณได้ทั้งหมดหรือไม่โซเชียลมีเดียเองก็ต้องการรายได้ ซึ่งมีความจำเป็นต้องลดการมองเห็นคอนเทนท์ของคุณต่อผู้ติดตาม นั่นหมายความว่าคุณต้องจ่ายเงินซื้อโฆษณาเพื่อให้ลูกค้ามองเห็นคอนเทนท์ของคุณมากขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตามเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียต่างก็มีประโยชน์กันคนละแบบ คุณไม่จำเป็นต้องใช้อย่างใดอย่างหนึ่งแต่คุณสามารถใช้มันควบคู่กันไปได้

ซีรีส์ The Good Place ดูแล้วอยากเป็นคนดีมากขึ้น

ทุกวันนี้ยังงงกับตัวเองอยู่เลย ว่ากลายเป็นคนติดซีรีส์ไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ระดับคะแนนการติดซีรีส์ของตัวเองถ้าเต็มสิ 10 ก็ให้ 9.5 เลย (อะไรจะติดขนาดนั้น)

ซีรีส์ The Good Place ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ติดงอมแงมมาก เพราะเป็นซิทคอมเบาสมองดูแล้วขำก๊าก แถมยังให้ข้อคิดดีๆ แก่ผู้ชมอีกด้วย ซึ่งตอนจบซีซั่นแรกจะมีหักมุมแบบต้องร้อง “เห้ย!” อีกต่างหาก ดูจบก็อยากดูซีซั่นต่อไปทันที

The Good Place เป็นซีรีส์ซิทคอมที่มีเรตติ้งค่อยข้างดีเลยแหละ โดยเว็บไซต์ Rotten Tomatoes ได้ให้คะแนนเรตติ้งซิทคอมเรื่องนี้ในซีซั่น 1 สูงถึง 95% ส่วนซีซั่น 2 กวาดเรตติ้งไป 100% เต็มเลยทีเดียว ธรรมดาซะที่ไหน

อย่าหาว่าอวยจนเกินไป แต่ถ้าคุณมีเวลาว่างเมื่อไหร่ ก็รีบจัดการดูโดยด่วน เพราะเป็นซีรีส์ที่สนุกมาก แถมยังให้ข้อคิดดีๆ อีกด้วย เมื่อคุณดูจบ รับรองเลยว่า “คุณจะอยากเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม” อย่างแน่นอนสามารถติดตามชมได้ทาง iflix

รีวิว Han Solo ฉบับคนไม่เคยดู Star Wars

บอกตรงๆ ว่าเป็นคนที่ไม่เคยดู Star Wars แม้แต่ภาคเดียว เพราะดูไม่รู้เรื่อง เจดงเจไดอะไรก็ไม่รู้จัก เจไดคืออะไร งง! เคยฝืนตัวเองด้วยการลองดูภาคนึง สุดท้ายดูไม่จบ

ส่วนภาพยนตร์เรื่อง Han Solo นี่ ไปดูแบบไม่ได้คาดหวังอะไร ปรากฎว่า ดูรู้เรื่อง และชอบมาก เนื้อเรื่องเข้าใจง่าย ดูจบแล้วอยากลองกลับไปดูภาคอื่นๆ อีกครั้ง

เนื้อเรื่องจะเล่าไปถึงตอนที่ฮานโซโลยังเป็นวัยรุ่น และเล่าถึงจุดเริ่มต้นบางอย่าง ที่เชื่อมโยงไปถึงสตาร์วอร์สภาคอื่นๆ

ถ้าพูดถึง CG ก็คงจะต้องชมอย่างเดียว เพราะทำออกมาได้สมจริงมาก บางฉากนี่ดูไม่ออกเลยว่าของจริง หรือ CG กันแน่

การดำเนินเรื่องก็สนุกดี มีหักมุม ดูแล้วลุ้นตาม

ให้ 8/10 คะแนน ไม่ใช่แฟนสตาร์วอร์ส แต่ดูแล้วชอบ ดูรู้เรื่อง

THE FOUNDER อยากรวยต้องเหนือเกม

เป็นหนังที่คนอยากทำธุรกิจควรดู!! หนังเรื่องนี้เล่าถึงชีวประวัติ “เรย์ คร็อค” ผู้สร้างอาณาจักร McDonald’s วัย 52 ปี ผู้มีความทะเยอทะยานสูง แทนที่เขาจะนึกถึงชีวิตการพักผ่อนในวัยเกษียณ แต่เขากลับลุกขึ้นมองหาโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ
ก่อนที่ “เรย์ คร็อค” จะกลายเป็นพระเจ้าแห่งอาณาจักร McDonald’s เขาเคยลองทำมาแล้วนับไม่ถ้วน เป็นเซลล์แมนขายของสารพัด ทั้งเครื่องปั่นมิล์คเชค โต๊ะพับ หรือแม้กระทั่งแก้วกระดาษ แต่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควร จนใครๆ ก็ตราหน้าเขาว่า เขาไม่มีวันประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

แต่แล้วชีวิตของเขาก็เปลี่ยนไปตลอดกาล เมื่อเขาได้พบกับ “แม็ค และ ดิ๊ค” สองพี่น้องตระกูล “แมคโดนัลด์” ซึ่งเดิมที ทำธุรกิจขายแฮมเบอร์เกอร์อยู่ก่อนแล้ว “เรย์ คร็อค” สนใจในระบบการบริหารจัดการด้านการผลิตและขายแฮมเบอร์เกอร์รูปแบบใหม่ที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อนนี้ เขาอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน McDonald’s เพราะมองเห็นอนาคตที่สดใสของธุรกิจ แต่แล้วจุดพลิกผันก็เกิดขึ้น เมื่อ “เรย์” เริ่มอยากบริหารงานทั้งหมดนี้เอง

บอกได้เลยว่า “THE FOUNDER” จะเป็นหนังเรื่องโปรดของผมไปตลอดกาล หนังดูสนุก ไม่น่าเบื่อ ดำเนินเรื่องเร็วและกระชับ ต้องขอชม “ไมเคิล คีตัน” ที่สามารถเป็น “เรย์ คร็อค” ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ถึงแม้บางทีเราจะเกลียดขี้หน้าและหลงไหลตัวละครตัวนี้ไปในเวลาเดียวกันก็ตาม หนังจะพาเราย้อนอดีตไปในสมัยที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง McDonald’s ทำให้เราได้เห็นวิวัฒนาการและการเติบโตของร้านฟาสต์ฟู๊ดชื่อดังนี้
ใครชอบดูหนังสไตล์ชีวประวัติอย่าง สตีฟ จ็อบส์ และเดอะโซลเชียลเน็ตเวิร์ค ก็น่าจะชอบหนังเรื่องนี้ได้ไม่ยาก
โดยส่วนตัวชอบดูหนังแนวนี้อยู่แล้วเลยให้คะแนนอยู่ที่ 8/10แนะนำคนที่อยากทำธุรกิจ ต้องดูเรื่องนี้ให้ได้ครับ
ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง THE FOUNDER อยากรวยต้องเหนือเกม